ให้นักเรียนกดลงทะเบียนที่รายวิชานี้ และร่วมโหลต เพื่อเช็คชื่อเข้าเรียน

ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 25602564) ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ประกอบด้วย  กลยุทธ์ที่ ๑ ปรับฐานความคิดทุกช่วงวัยตั้งแต่ปฐมวัยเป็นต้นไปให้สามารถแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม กลยุทธ์ที่ ๒ ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต กลยุทธ์ที่ ๓ ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต  และกลยุทธ์ที่ ๔ เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต จากกลยุทธ์ที่ ๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการให้การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ขึ้น เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูล กำหนดแนวทางและขอบเขตในการจัดทำหลักสูตร ยกร่างและจัดทำเนื้อหาหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ รวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติม กำหนดแผนหรือแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย

            คณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ด้านการป้องกันการทุจริตได้ร่วมกันสร้างชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา : Anti-Corruption Education ประกอบด้วย ๕ หลักสูตร ดังนี้  ๑. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต) ๒. หลักสูตรอุดมศึกษา (วัยใส ใจสะอาด “Youngster with Good Heart”) ๓. หลักสูตรตามแนวทางรับราชการ กลุ่มทหารและตำรวจ ๔. หลักสูตรสร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต และ ๕. หลักสูตรโค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต ชุดหลักสูตรดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการนำไปทดลองใช้ เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำหรับการใช้ในกลุ่มเป้าหมายต่อไป นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริตยังได้คัดเลือกสื่อการเรียนรู้ จากแหล่งต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม ๕๐ ชิ้น เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ และให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งดำเนินการ เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา

            รายวิชาเพิ่มเติมการป้องกันการทุจริต สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำขึ้นโดยอนุกรรมการด้านการศึกษา ในคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริตและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย (๑) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม (๒) ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต (๓) STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต (๔) พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อเนื่องกันตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

              คณะกรรมการ ป.ป.ช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายวิชาเพิ่มเติมการป้องกันการทุจริตสำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) จะนำเข้าสู่ระบบการศึกษาเพื่อเป็นกลไกระยะยาวในการปลูกฝังวิธีคิดป้องกันการทุจริตให้แก่ผู้เรียนอย่างเป็นอัตโนมัติ เพื่อร่วมกันสร้างประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต

รายวิชา ส31202 ป้องกันทุจริต 1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

ประกอบด้วย
       1. การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
       2. ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
       3. STRONG :จิตพอเพียงต้านทุจริต
       4. พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

"รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันทุจริต "

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1

"รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันทุจริต "

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567

         ศึกษาเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต รู้หน้าที่ของพลเมืองและรับผิดชอบต่อสังคมในการต่อต้านการทุจริต

         โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ จําแนก แยกแยะ การฝึกปฏิบัติจริง การทําโครงงานกระบวนการเรียนรู้5 ขั้นตอน (5 STEPs) การอภิปราย การสืบสอบ การแก้ปัญหา ทักษะการอ่านและการเขียน เพื่อให้มีความตระหนักและเห็นความสําคัญของการต่อต้านและการป้องกันการทุจริต