อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองประเภทโคลงได้อย่างถูกต้องจับใจความสำคัญ  ตีความ  แปลความและขยายความ วิเคราะห์วิจารณ์ และตอบคำถามเขียนกรอบแนวคิดผังความคิด
เขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก ย่อความ และรายงานจากเรื่องที่อ่าน ย่อความ เรียงความ  
เขียนสื่อสาร  เขียนบรรยาย  อธิบาย  พรรณนาได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์มีข้อมูลและสาระสำคัญ รวมถึงมีมารยาทในการเขียนสรุปแนวคิด และแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ แนวคิด การใช้ภาษา
และความน่าเชื่อถือ ประเมินเรื่อง  มีวิจารณญาณนำไประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต อย่างมีเหตุผล 
จากเรื่องที่ฟัง ดู และพูด อธิบาย  ธรรมชาติของภาษาพลังของภาษา และลักษณะของภาษา ใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยค ใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาสกาลเทศะ และบุคคล รวมทั้งคำราชาศัพท์อย่างเหมาะสม  แต่งบทร้อยกรองประพันธ์ประเภทโคลงเห็นคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน 
ท่องจำบทอาขยานมีมารยาทในการอ่าน  การฟัง  การดู การพูดและการเขียน
        โดยใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน กระบวนการคิด ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล บันทึก จัดกลุ่มข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ
หลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรอง พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์วิจารณ์  ประเมินค่า 
สรุปลักษณะเด่นและประเด็นสำคัญของวรรณคดีและวรรณกรรมฝึกฝนทักษะการฟัง  การพูด 
การเล่าเรื่อง และการแสดงความคิดเห็นตามเจตนารมณ์ที่ต้องการสื่อสาร สามารถนำความรู้ที่ได้รับ
ไปสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเห็นคุณค่าวิถีชีวิตของคนไทยในอดีต  มีความภาคภูมิใจในวรรณคดีและวรรณกรรมอันเป็นมรดกของชาติ 

สามารถนำความรู้ไปใช้ในการตัดสินใจและการดำเนินชีวิตประจำวัน  มีจิตสาธารณะ 
ตระหนักถึงคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม  และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  รักชาติศาสน์ กษัตริย์  ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงานรักความเป็นไทย  มีจิตสาธารณะ
ใช้ความรู้ภาษาไทยเพื่อการจรรโลงจิตใจ  ธำรงและพัฒนาสังคมได้เต็มศักยภาพของผู้เรียน
และการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเน้นความพอเพียงในระดับชุมชนเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

รหัสตัวชี้วัด
ท ๑.๑   ม.๔-๖/๑
,  ม.๔-๖/๒,  ม.๔-๖/๓, ม.๔-๖/๔ , ม.๔-๖/๗ , ม.๔-๖/๘
ท ๒.๑   ม.๔-๖/๑
,  ม.๔-๖/๒,  ม.๔-๖/๓, ม.๔-๖/๖ , ม.๔-๖/๗
ท ๓.๑   ม.๔-๖/๑
,   ม.๔-๖/๒,  ม.๔-๖/๓, ม.๔-๖/๔ , ม.๔-๖/๕
ท ๔.๑   ม.๔-๖/๑
,ม.๔-๖/๒,ม.๔-๖/๓ ,ม.๔-๖/๔ ,ม.๔-๖/๕ ,ม.๔-๖/๖
ท ๕.๑   ม.๔-๖/๑
,  ม.๔-๖/๒, ม.๔-๖/๓, ม.๔-๖/๔, ม.๔-๖/๕ , ม.๔-๖/๖
รวมทั้งหมด  ๒๘  ตัวชี้วัด